ขนคุด คือ ภัยเงียบของผิวหากกำจัดขนไม่ถูกวิธี

ขนขุด 1 ในปัญหากวนใจของใครหลายคนที่มักจะเจอทุกครั้งหลังจากการกำจัด โดยเฉพาะทางกำจัดด้วยวิธีการโกนซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการกำจัดขนที่ไม่ถูกวิธี วันนี้เวอร์น่าจะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะขนคุด ว่าขนคุดคืออะไร ? เกิดจากอะไร? และมีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง แต่ก่อนอื่นเราไปรู้จักโครงสร้างทางผิวหนังกันก่อนดีกว่าค่ะ

ระบบผิวหนังทำหน้าที่อะไร

ระบบผิวหนังทำหน้าที่ปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมด ซึ่งภายใต้ผิวหนังมีต่อมรับความรู้สึกอยู่มากมายเพื่อรับรู้การสัมผัส แรงกด ความเจ็บปวด และอุณหภูมิภายนอก ผิวหนังยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและยังมีบทบาทในการขับเหงื่อและไขมันอีกด้วย ประกอบไปด้วยอวัยวะอย่าง ผิวหนัง เส้นผม ขน เล็บ และต่อมมีท่อ ถึงแม้ว่าผิวหนังมีความหนาเพียงแค่ไม่กี่มิลลิเมตร แต่จัดว่าเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดของร่างกาย น้ำหนักรวมของผิวหนังในคนทั่วไปมีน้ำหนักมากถึง 5 กิโลกรัม และมีพื้นที่รวมกันกว่า 2 ตารางเมตร หน้าที่หลักของผิวหนังคือการเป็นด่านป้องกันไม่ให้อวัยวะภายใต้ได้รับอันตรายจากสารเคมี เชื้อโรค และแสงแดด ขณะที่เส้นผมและเล็บงอกช่วยเสริมการปกป้องอวัยวะใต้ผิวหนัง โดยส่วนใหญ่แล้ว ผิวหนังจะสามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้ ยกเว้นบางบริเวณ เช่น หนังศีรษะด้านนอกของใบหู ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตามรอยพับของข้อต่อต่างๆ

หนังกำพร้า (Epidermis) หรืออีกชื่อว่า “ผิวหนังชั้นตื้น” หนังกำพร้าเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของผิวหนังที่ปกคลุมไปเกือบทั้งหมดของร่างกาย หนังกำพร้านั้นไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง จึงต้องรับสารอาหารจากหนังแท้เท่านั้น ในชั้นหนังกำพร้ามีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) มีหน้าที่ในการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้สีผิวของแต่ละคนมีสีที่แตกต่างกัน หน้าที่หลักของหนังกำพร้าคือ การป้องกันอวัยวะภายในจากแสงแดด น้ำ และสารพิษต่างๆ รวมถึงเชื้อโรค ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังมีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วยการขับเหงื่ออีกด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการขับของเสียออกจากร่างกายด้วย

หนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นผิวหนังที่อยู่ถัดจากชั้นหนังกำพร้า มีความหนามากกว่าหนังกำพร้า ในชั้นหนังแท้จะประกอบไปด้วยโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ เนื้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และเนื้อเยื่ออีลาสติน (Elastin) เนื้อเยื้อคอลลาเจนจะมีส่วนช่วยทำให้ผิวหนังแข็งแรง และช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่สึกหรอ ซึ่งถ้าสร้างในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเกิดเป็นแผล ในส่วนของเนื้อเยื่ออีลาสตินจะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น และในเนื้อเยื่อส่วนนี้ยังเป็นที่อยู่ของ หลอดเลือด เส้นประสาท ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ โดยต่อมเหงื่อมีส่วนสำคัญในการปรับอุณหภูมิในร่างกาย การขับเหงื่อมีส่วนช่วยในการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ในขณะที่อาการขนลุกนั้นเป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่ออากาศร้อน เราจึงถึงเหงื่อออก และในขณะที่อากาศหนาว จึงเกิดอาการขนลุกเกิดขึ้น

ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer or Hypodermis) มีอีกชื่อเรียกว่า “ชั้นไขมัน” ประกอบไปด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก ชั้นใต้ผิวหนังแต่ละคนมีขนาดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณไขมันสะสมของคนแต่ละคน ชั้นใต้ผิวหนังทําหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอกอีกด้วย ชั้นไขมันจะพบเจอได้มากในบริเวณสะโพก เอว ต้นขา หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “เซลลูไลต์” (Cellulite) โดยเซลลูไลต์ก็สามารถพบเจอได้ในบุคคลที่มีรูปร่างผอมด้วยเช่นกัน

ขนคุด คืออะไร

ขนคุด

“ขนคุด (Keratosis Pilaris)” คือ ภาวะทางผิวหนังที่เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน มักพบว่ามีผิวแห้ง เป็นปื้นหยาบ และเป็นตุ่มนูนที่รูขุมขน เวลาลูบไปที่บริเวณดังกล่าวจะให้ความรู้สึกสาก ๆโดยมักเกิดขึ้นบริเวณแขนส่วนบน ต้นขา ก้นหรือแก้ม ปกติจะไม่ทำให้รู้สึกคันหรือเจ็บ

สาเหตุของขนคุด ขนคุด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการสะสมของเคราติน (Keratin) โดยเคราตีนเป็นโปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการการติดเชื้อหรือป้องกันการดูดซึมสารอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการสะสมของเคราตินทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณรูขุมขน จึงทำให้ขนไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติและเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสะสมของเคราติน แต่สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมหรือภาวะทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

ขนคุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคน แต่จะรู้ได้ยังไงว่าัวมีภาวะขนคุดแล้วหรือไม่? ให้สังเกตตัวเองดังต่อไปนี้

  • มีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง
  • มักเกิดขึ้นที่แขนส่วนบน ต้นขา แก้มหรือก้น และจะไม่ทำให้เกิดอาการคันและเจ็บ
  • บริเวณผิวหนังที่เป็นตุ่มจะมีผิวที่แห้งและหยาบกร้าน
  • เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อมีความชื้นในอากาศน้อย มักจะทำให้อาการแย่ลงหรือผิวบริเวณที่เป็นขนคุดแห้งกว่าเดิม
  • เมื่อลูบที่ผิวหนังจะทำให้รู้สึกคล้ายกระดาษทราย

การป้องกันการเกิดขนคุด

แม้ไม่สามารถป้องกันการเกิดขนคุดได้ 100% แต่สามารถทำให้อาการหรือรูปลักษณ์ดีขึ้นได้ ด้วยการดูแลผิวไม่ให้แห้งและมีความชุ่มชื้นไม่ควรเกาบริเวณตุ่มรูขุมขนหรือขัดถูผิวหนังบริเวณที่เป็นขนคุดรุนแรงเกินไป วิธีการดูแลตัวเองเพื่อให้เกิดขนคุดน้อยที่สุด มีง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  • เวลาอาบน้ำควรใช้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิไม่สูงจนเกินไป และเมื่อต้องอาบน้ำ แช่น้ำ หรือว่ายน้ำ ควรจำกัดเวลาอยู่ในน้ำไม่ให้นานจนเกินไป ประมาณ 10 นาที หรือน้อยกว่า เพราะเมื่ออาบน้ำร้อนหรืออยู่ในน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ไขมันที่ผิวหนังถูกกำจัดไปและทำให้ผิวแห้ง
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่อาบน้ำที่ทำให้ผิวแห้ง โดยสามารถกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยผ้าขนหนูหรือฟองน้ำที่ใช้ขัดตัวแทน
  • ใช้ครีมบำรุงที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวเป็นประจำ โดยหลังจากอาบน้ำในขณะที่ผิวกำลังหมาด ๆ สามารถใช้ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ซึ่งอาจมีส่วนผสม เช่น ลาโนลิน (Lanolin) ปิโตรเลียม เจลลี่ (Petroleum Jelly) หรือกลีเซอรีน (Glycerine)
  • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับหรือเข้ารูปจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  • โดยปกติอาจไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่หากอาการที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อขอคำปรึกษาเพื่อหาทางแก้ไขได้

การวินิจฉัยหรือศึกษาอาการของผู้ป่วย จะมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการเรื้อรัง รวมไปถึงตรวจสอบถึงความจำเป็นในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และอาจมีการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่าภาวะขนคุดไม่ได้เป็นโรคติดต่อและไม่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมแต่อย่างใด

นอกจากนั้น ผู้ที่มีผิวแห้งมักมีโอกาสเกิดขนคุดได้มาก และอาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เพราะมีความชื้นในอากาศน้อยและมักทำให้ผิวแห้ง การวินิจฉัยขนคุด โดยปกติผู้มีขนคุดไม่มีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพราะเป็นภาวะที่ไม่มีความร้ายแรง แต่หากผู้ป่วยมีความต้องการพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยได้โดยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการ และไม่มีความจำเป็นต้องมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม

การรักษาขนคุดโดยส่วนใหญ่ เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขนคุดจะค่อย ๆ หายไปเอง และสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นดูแลรักษาผิวเพื่อทำให้บริเวณที่เป็นขนคุดมีอาการดีขึ้นได้ แต่หากใช้แล้วไม่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้น ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอครีมที่สั่งโดยแพทย์มาใช้ได้เช่น

  • ครีมยาช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แพทย์จะให้ใช้ครีมยาที่มีส่วนผสมของกรดอัลฟาไฮดรอกซี กรดแลคติก กรดซาลิไซลิก หรือยูเรีย ซึ่งนอกจากครีมที่มีส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยผลัดและกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ยังช่วยให้ความชุ่มชื้นและช่วยให้ผิวที่แห้งกร้านมีความนุ่มนวลขึ้น นอกจากนั้น แพทย์จะสามารถแนะนำวิธีการใช้ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม กรดที่ผสมอยู่ในครีมเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแดงหรือระคายเคืองต่อผิวได้ ซึ่งจะไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก
  • ครีมป้องกันการอุดตันของรูขุมขน แพทย์จะให้ครีมยาวิตามินเอ เช่น ยาเตรทติโนอิน ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเซลล์และป้องกันการอุดกั้นของรูขุมขน อย่างไรก็ตาม ครีมยาชนิดนี้อาจทำให้ผิวระคายเคืองหรือผิวแห้งได้ และสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แพทย์จะไม่ให้ใช้หรืออาจเลือกใช้วิธีอื่นรักษาแทน
  • ทำเลเซอร์ไอพีแอล (Intense Pulsed Light: IPL) หรือเพาซ์ดายเลเซอร์ (Pulse Dye Laser) จะช่วยในการลดอาการแดงที่ผิวหนัง แต่จะไม่สามารถลดความหยาบหรือผิวที่ขรุขระได้ หรือบางรายอาจแนะนำให้ทำเลเซอร์กำจัดขน

ขนคุดอันตรายหรือไม่

ขนคุดไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญและความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์  นอกจากนั้น พบว่าผู้ที่มีอาการขนคุดมักจะมีโรคหรือภาวะทางผิวหนังอื่นๆ ด้วย เช่น ผิวหนังอักเสบออกผื่นหรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมไปถึงผู้ที่มีสภาพผิวแห้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขนคุดได้มากขึ้น

ดังนั้นแล้วหากไม่ต้องการให้ผิวสวยๆ ของเราเกิดขนคุดจากการกำจัดขน ขอแนะนำว่าวิธีกำจัดขนที่ข้อบ่งชี้ไม่เยอะ วิธีการง่ายที่สุด และไม่เกิดขนคุดแน่นอน 100% คือ “การแว็กซ์” อย่างแน่นอนค่ะ การแว็กซ์ขนเป็นการดูแลผิวอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้คุณมีผิวสวยเรียบเนียน นอกจากจะเป็นการกำจัดขนจากรากจึงทำให้ไม่ทิ้งตอดำๆของเส้นขนไว้ ยังสามารถทำให้ผิวของคุณเรียบเนียนกระจ่างใสอย่างเห็นได้ชัดทันทีที่คุณแว็กซ์เสร็จ เพราะการแว็กซ์สามารถจับสิ่งสกปรกตกค้างของคุณและดึงออกไปพร้อมกับเส้นขน คล้ายกับการขัดผิวที่สามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวและสิ่งสกปรกตกค้างออกไปได้ หากคุณแว็กซ์เป็นประจำอย่างต่อเนื่องเส้นขนของคุณก็จะขึ้นช้าและบางลงผิวของคุณก็จะเรียบเนียนกระจ่างใสขึ้นอีกด้วย

แว็กซ์ร้อน

ขนคุดไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดความรำคาญและความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์  นอกจากนั้น พบว่าผู้ที่มีอาการขนคุดมักจะมีโรคหรือภาวะทางผิวหนังอื่นๆ ด้วย เช่น ผิวหนังอักเสบออกผื่นหรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมไปถึงผู้ที่มีสภาพผิวแห้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขนคุดได้มากขึ้น

Hard Wax หรือ แว็กซ์ร้อน เป็นหนึ่งในแว็กซ์ที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับบริเวณที่บอบบางของร่างกาย เช่นสายบิกินี่ ใต้วงแขน ริมฝีปากบนหรือคิ้ว นอกจากจะปลอดภัยแล้วยังถือว่าสะดวกที่สุดเพราะว่าเราไม่ต้องทำเนื้อแว็กซ์เอง ลักษณะของ Hard Wax จะเป็นเม็ดหรือก้อนเล็กๆ นอกจากจะเป็นหนึ่งในวิธีการกำจัดขนที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดขนได้อย่างถึงรากถึงโคน โอกาสเกิดขนขาด ขนคุดน้อยมาก ยังช่วยผลัดเซลล์ผิวช่วยกำจัดผิวหนังกำพร้า ทำให้ผิวใส เนียนนุ่ม โดยข้อดีอีกอย่างคือสามารถดึงออกได้ด้วยมือ โดยไม่ต้องใช้กระดาษหรือผ้าในการช่วยดึง

ส่วนการเลือกแว็กซ์นั้นสาวๆ ควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและได้รับการรับรองจาก อย. ไม่ว่าจะเป็นแว็กซ์สูตร Premium Pearl แว็กซ์ที่ทำให้คุณได้รู้สึกถึงความพรีเมี่ยม และได้สัมผัสประสบการณ์ในการกำจัดขนสุดพิเศษ เพราะแว็กซ์สูตรนี้สามารถกำจัดขนทุกชนิดได้ถึง 99% ไม่ว่าจะเป็นเส้นหนาหรือเส้นบางในบริเวณกว้าง เช่น ขาและแขน ไม่ทิ้งรอยแดง และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองหากใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสำหรับผิวบอบบาง แพ้ง่าย

หรือสำหรับคนที่รักความสนุกสนานและอยากจะเริ่มผลัดเซลล์ผิวด้วยการแว็กซ์แล้วแหละก็ขอแนะนำแว็กซ์สูตร Soft Touch คาโมมายด์และโรส ที่จะมอบสีสันในการกำจัดขนของคุณ ให้คุณสนุกและเพลิดเพลินไปกับการแว็กซ์ เหมาะกับการกำจัดขนเส้นหนาในบริเวณที่แคบ เช่น ใต้รักแร้และบริเวณบิกีนี่ แห้งไว ใช้ง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่เพิ่งเริ่มแว็กซ์เองที่บ้าน

หวังว่าหลายคนคงจะได้รับประโยชน์จาก Blog นี้นะคะ และหากใครสนใจศึกษาข้อมูลเรื่องการแว็กซ์เพื่อให้การแว็กซ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรึกษาด้านการแว็กซ์กับเราได้ที่ Line@: @vernawax บอกเลยว่าฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่ายนะคะ